🍉ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานทางธุรกิจ (Information Systems in business)
มีหลายทางที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานที่ต้องกระทำในธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจและในฐานะที่เป็นผู้ใช้คุณต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศสามารถสนองความต้องการใช้งานด้านธุรกิจได้ดังนั้นในบทนี้เราจะศึกษาในเรื่องระบบสารสนเทศทางธุรกิจ( Business Information Systems ) ที่ส่งเสริมความต้องการใช้งานในด้านบัญชี (Accounting) การเงิน (Finance) การตลาด (Marketing) การจัดการด้านปฏิบัติการ (Operations Management) และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
🍉ระบบสารสนเทศแบบหลายหน้าที่ (Cross-functional Information Systems)
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ คุณจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญกับการทำธุรกิจ เช่นการตลาดหรือธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงอาทิเช่นธนาคาร ดังนั้นหากใครบางคนต้องการมีตำแหน่งด้านการตลาดในด้านธนาคารควรมีความเข้าใจพื้นฐานเรื่องระบบสารสนเทศที่ใช้ในธนาคารและจะส่งเสริมงานด้านการตลาดในธนาคารและหน่วยงานอื่นๆได้อย่างไร
🍉ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information Systems)
หน้าที่ทางธุรกิจของการตลาดนั้นเกี่ยวข้องกับ การวางแผน การส่งเสริมการขายและการขายสินค้ารวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และตลาดใหม่ๆ เพื่อให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าที่มีศักยภาพ(ในการซื้อ)ในอนาคตดังนั้นการตลาดจึงทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้าองค์กรธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
🍍การตลาดเชิงโต้ตอบ (Interactive Marketing)
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่องานด้านการตลาด คำว่า การตลาดเชิงโต้ตอบ เป็นวลีใหม่ที่ใช้อธิบายการตลาดที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อสร้างวิธีให้เกิดการโต้ตอบ 2 ทางระหว่างบริษัทลูกค้า เป้าหมายของการตลาดเชิงโต้ตอบ คือ การที่ทำให้บริษัทได้รับผลประโยชน์จากการใช้เครือข่ายในการทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและรักษาลูกค้าเหล่านั้นไว้อันจะทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในการสร้างสรรค์ การจัดซื้อและการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท
🍍แรงขายอัตโนมัติ (Sale Force Automation)
การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆ บริษัท ใช้คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก(Notebook) เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะติดต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และอินทราเน็ตของบริษัท วิธีนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มผลผลิตของพนักงานขายแต่ล่ะคนเท่านั้นยังเข้าถึงสารสนเทศการขายที่ได้รับจากภายนอกไปสู่ผู้จัดการด้านการขายที่สำนักงานใหญ่ทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
🍍การจัดการขายและผลิตภัณฑ์ (Sales and Product Management)
ผู้จัดการด้านการขายจะต้องมีการวางแผน ตรวจตราและส่งเสริมงานด้านการขายของพนักงานขายในหน่วยงานของตนดังนั้นองค์กรส่วนใหญ่จึงใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำรายงานการวิเคราะห์การขายซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์การขายตามผลิตภัณฑ์ สายการผลิต ลูกค้า ประเภทของลูกค้า พนักงานขาย และเขตการขาย
🍍การโฆษณาและส่งเสริมการขาย (Advertising and Promotion)
ผู้จัดการด้านการตลาดพยายามที่จะขายผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดในการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ระบบสารสนเทศด้านการตลาดใช้สารสนเทศด้านการวิจัยการตลาดและแบบจำลองด้านการส่งเสริมการขายเพื่อช่วย 1) เลือกสื่อและวิธีการในการส่งเสริมการขาย 2) จัดสรรแหล่งงบประมาณ 3)ควบคุมและประเมินผลของการโฆษณาและส่งเสริมการขาย
🍍เป้าหมายทางการตลาด (Targeted Marketing)
เป้าหมายทางการตลาดกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ในการโฆษณาและส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายทางการตลาดเป็นแนวคิดในการจัดการด้านการโฆษณาและการขายซึ่งมีองค์ประกอบที่เป็นเป้าหมาย 5 ประการ
-ประชาคม(Community) บริษัทสามารถจำแนกข้อความโฆษณาบนเว็บและวิธีการส่งเสริมการขายเพื่อที่จะเข้าถึงคนในกลุ่มที่เฉพาะเจาะจงที่อาจเรียกว่าเป็นกลุ่มของคนที่สนใจ(Communities)เช่นชุมชนเสมือน (Virtual Communities)
-เนื้อหา (Content) การโฆษณาแบบป้ายโฆษณาทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Billboards)หรือแถบป้าย(Banner)ที่สามารถวางไว้บนหน้าเว็บไซท์ต่างๆ ได้
-บริษัท(Context) โฆษณาที่ปรากฏบนเว็บไซท์ มักครอบคลุมผลิตภัณฑ์และการบริการดังนั้นโฆษณาจึงมุ่งไปที่กลุ่มคนซึ่งกำลังมองหาสารสนเทศในเรื่องนั้นอยู่แล้ว
-ประชากรศาสตร์/จิตวิทยา(Demographic/Psychographic) การตลาดพยายามที่จะพุ่งเป้าไปยังประเภทของกลุ่มของคนที่เฉพาะเจาะจงเช่นคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน คนที่อายุ 30ปีขึ้นไป
-พฤติกรรมออนไลน์(Online Behavior) การโฆษณาและส่งเสริมการขายได้พยายามที่จะเจาะสารสนเทศการเข้าใช้เว็บไซท์ของผู้ใช้แต่ละคน กลยุทธ์นี้ขึ้นอยู่กับเว็บคุกกี้(Web Cookies)ซึ่งเก็บสารสนเทศของผู้เข้าใช้จากการเข้าเยี่ยมชมครั้งก่อน
🍑การวิจัยทางการตลาดและการคาดการณ์ (Market Research and Forecasting)
ระบบสารสนเทศด้านการวิจัยทางการตลาดทำให้เกิดการตลาดที่ชาญฉลาด(Market Intelligence) ช่วยให้ผู้จัดการคาดการณ์ทางการตลาดได้ดีขึ้นและพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นระบบสารสนเทศทางการตลาดช่วยให้นักวิจัยการตลาดรวบรวม วิเคราะห์และดูแลสารสนเทศจำนวนมหาศาลของการตลาดที่มีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา
🍑ระบบสารสนเทศการผลิต(Manufacturing Information Systems)
ระบบสารสนเทศการผลิตช่วยสนับสนุนงานในด้านการผลิตและการดำเนินงาน รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวางแผนและการควบคุมขั้นตอนของการผลิตสินค้าและบริการดังนั้นหน้าที่ในการผลิตและการดำเนินงานจึงเกี่ยวข้องกับการจัดการของระบบและกระบวนการผลิต
คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ(Computer-integrated Manfacturing :CIM)
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตที่มีความหลากหลายได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตแบบบูรณาการเพื่อสนับสนุนซึงเป็นแนวคิดในภาพรวมที่เน้นในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ในการผลิตจะต้องมีเป้าหมายดังนี้
- ความง่าย (Simplify)ในการรื้อปรับระบบ(Reengineering)ทำให้กระบวนการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และโครงสร้างของโรงงานเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบอัตโนมัติและบูรณาการให้มีการใช้งานง่ายขึ้น
-อัตโนมัติ(Automate) ทำให้เป็นอัตโนมัติด้วยการสนับสนุนด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องจักรและหุ่นยนต์ช่วยในงานด้านกระบวนการผลิตการออกแบบผลิตภัณฑ์และงานด้านธุรกิจ
บูรณาการIntegrated การใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่างโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ช่วยในงานด้านการผลิตและกระบวนการสนับสนุนการผลิต
เครือข่ายความร่วมมือในการผลิต(Collaborative Manufacturing Network)
กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และกาบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือการเพิ่มเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆ
การควบคุมการดำเนินงาน(Process Control)
การควบคุมการดำเนินงานเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานที่เห็นได้ทางกายภาพ กระบวนการควบคุมการทำงานในเชิงกายภาพ กระบวนการควบคุมการทำงานในเชิงกายภาพในการกลั่นน้ำมัน การผลิตซีเมนต์ การถลุงเหล็กกล้า การผลิตสารเคมี การผลิตอาหารจากโรงงาน การผลิตกระดาษ การผลิตกระแสไฟฟ้า และอื่นๆ
การควบคุมเครื่องจักรกล (Machine Control)
การควบคุมเครื่องจักรกลเป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล ที่รู้จักกันดีในนามNumerical Control โดยแปลงข้อมูลทางเรขาคณิตจากการวาดภาพทางวิศวกรรมและขั้นตอนการทำงานจากการวางแผนการดำเนินงานไปสู้รหัสตัวเลขของชุดคำสั่งซึ่งควบคุมการทำงานของเครื่องจักรการควบคุมเครื่องจักรกลนี้
หุ่นยนต์ (Robotics)
การพัฒนาที่สำคัญในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ในเพื่อช่วยในอุตสาหกรรมคือการสร้างสรรค์เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงและหุ่นยนต์อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของสิ่งเหล่านนี้ คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ การศึกษาและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์นี้เป็นเทคโนโลยีของการสร้างและการใช้เครื่องจักรบวกกับความฉลาดของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรม(Computer-Aided Engineering -CAE)
วิศวกรด้านการผลิตใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานด้านวิศวกรรม CAE สร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบการวิเคราะห์และการประเมินต้นแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพวกเขาได้พัฒนาขึ้นโดยการใช้วิธีการด้านคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบ(Computer-Aided Engineering -CAE) ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงกระบวนการผลิตในโรงงานและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Information Systems :HRIS)
การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Management)เกี่ยวข้องกับการจัดหา การทดสอบ การประเมินผล การจ่ายเงินค่าตอบแทนและการพัฒนาลูกจ้างขององค์กร เป้าหมายคือการใช้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุดดังนั้นสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์จึงได้ออกแบบมาเพื่อสนับสนุน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอินเทอร์เน็ต (HRN and Internet)
อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนผลักดันที่สำคัญของความเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์เช่นระบบออนไลน์ของHRMได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซต์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอินทราเน็ต HRM and Intranet
เทคโนโลยีอินทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถทำระบบงานพื้นฐานเกือบทั้งหมดของงานด้าน HRM ได้บนอินทราเน็ตขององค์กร เพื่อการเสนอบริการไปสู่พนักงาน ซึ่งสามารถแพร่กระจายสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ได้รวดเร็วกว่าช่องทาง(การสื่อสาร)อื่นๆของบริษัทในอดีตละสามารถรวบรวมสารสนเทศออนไลน์จากพนักงานเพื่อนำเข้าสู่แฟ้มข้อมูลของHRM
จำนวนบุคลากรขององค์กร (Staffing the Organization)
การทำงานของบุคลากรต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบสารสนเทศ ซึ่งจะบันทึกและติดตามทรัพยากรบุคคลในบริษัทเพื่อทำให้เกิดการใช้งานสูงสุดเช่นระบบการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เก็บข้อมูลจากการติดตามเพิ่มเติม ลบทิ้ง และเปลี่ยนแปลงระเบียนของพนักงานในฐานข้อมูลบุคลากร
การพัฒนาและฝึกอบรม (Training and Development)
ระบบสารสนเทศช่วยให้ผู้จัดการด้านทรัพยากรมนุษย์วางแผนและดูแลการจัดหา การฝึกอบรมและโครงการพัฒนาพนักงาน โดยการวิเคราะห์ความสำเร็จ จากวางแผนในอดีตของโครงการในปัจจุบันพวกเขายังวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาด่านอาชีพจากพนักงานเพื่อหาข้อสรุปว่าวิธีการพัฒนาเช่นโปรแกรมการฝึกอบรมและการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นอย่างไร
การวิเคราะห์ค่าตอบแทน (Compensation Analysis)
ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ขอบเขตและการกระจายของค่าตอบแทนของพนักงาน ค่าแรง เงินเดือน รายจ่ายพิเศษ และค่าตอบแทนอื่นๆนอกเหนือจากเงินเดือน ภายในองค์กรเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่จ่ายในองค์กรที่ทำงานคล้ายกันหรือปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์กับการวางแผนเปลี่ยนแปลงในเรื่องค่าตอบแทน
การรายงานต่อรัฐบาล (Governmental Reporting)
ในทุกวันนี้ต้องมีการรายงานไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบหลักในเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์ดังนั้นองค์กรเหล่านี้ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อเก็บการติดตามด้านสถิติและการจัดทำรายงาน
ระบบสารสนเทศด้านบัญชี(Accounting Information Systems)
ระบบสารสนเทศด้านบัญชีเป็นการใช้ระบบสารสนเทศที่เก่าแก่และแพร่หลายมากที่สุดระบบสารสนเทศทางด้านบัญชีใช้แนวคิดในการตรวจสอบการลงรายการบัญชีรับและจ่ายสองครั้งซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมามานานกว่าร้อยปีระบบคอมพิวเตอร์ด้านบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการ
ระบบบัญชีออนไลน์(Online Accounting Systems)
การใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆได้เปลี่ยนแปลงการตรวจตราระบบสารสนเทศทางบัญชีและการติดตามงานด้านธุรกิจทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของเอกสารรายการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนการทำงาน และการควบคุม ช่วยประยุกต์กระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง
1. กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
กระบวนการสั่งซื้อหรือกระบวนการขายเป็นระบบระบวนการทางรายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งการได้รีบและการดำเนินการสั่งซื้อที่ได้รับจากลูกค้า
2. การควบคุมสินค้าคงคลัง(Inventory Control)
ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าเมื่อข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าที่ได้รับจากระบบประมวลผล
3. บัญชีลูกหนี้หรือรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ(Accounts Receivable)
ระบบรายได้ที่คาดว่าจะได้รับเป็นการเก็บรายการยอดขายสินค้าด้วยข้อมูลที่สร้างจากการสั่งซื้อและการจ่ายเงินของลูกค้าอีกทั้งยังจัดทำใบเสนอราคาให้ลูกค้า
4. บัญชีเจ้าหนี้หรือรายจ่ายที่ต้องชำระ(Accounts Payable)
ระบบรายจ่ายที่ต้องชำระเพื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อและการจ่ายเงินให้บริษัทผู้จัดหาสินค้าการเตรียมเช็คสำหรับการจ่ายและจัดทำรายงานการบริหารเงินสด
5. การจ่ายเงินเดือน(payroll)
ระบบเงินเดือนได้รับข้อมูลจากบัตรเวลาพนักงานและระเบียนอื่นๆระบบจะจัดทำการจ่ายเงินด้วยเช็คหรือเอกสารอื่นๆเช่น รายรับ รายงานการจ่ายเงินเดือนและรายงานการวิเคราะห์แรงงาน
6.บัญชีแยกประเภททั่วไป (General ledger)
บัญชีแยกประเภททั่วไปได้รวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากรายได้ที่คาดว่าจะได้รับรายจ่ายที่ต้องชะระเงินเดือนและระบบสารสนเทศด้านบัญชี
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information Systems)
สารสนเทศด้านการเงินสนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ 1)การเงินของบริษัท 2)การจัดสรรและควบคุมแหล่งการเงินภายในบริษัท ประเภทของระบบสารสนเทศทางการเงินที่สำคัญที่รวมการจัดการเงินสดและการลงทุน การจัดทำงบประมาณการเงิน การคาดการณ์ทางการเงินและการวางแผนทางการเงิน
การจัดการเงินสด (Cash Management)
ระบบการจัดการด้านเงินสด รวบรวมสารสนเทศจากใบเสร็จรับเงินและการจ่ายเงินเวลาตามจริงหรือเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านั้นทำให้ธุรกิจสามารถนำเข้าหรือขยายเงินทุนได้อย่างรวดเร็วดังนั้นการเพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากเงินทุนที่นำเข้าหรือใช้ในการลงทุนระบบนี้ยังช่วยคาดการณ์เรื่องการรับเงินสดหรือเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตหรือการคาดการณ์การไหลเวียนด้านการเงินเพื่อตรวจตราการขาดดุลเงินสดหรือการมีรายรับมากกว่ารายจ่าย
การจัดการการลงทุนออนไลน์ (Online Investment Management)
หลายธุรกิจลงทุนเพื่อเพิ่มเงินสดระยะสั้นในตลาดที่มีความเสี่ยงสูงเช่นพันธบัตรของรัฐบาล การลงทุน ในบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนสูงด้วยหรือในทางเลือกอื่นที่จะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน
งบประมาณเงินลงทุน (Capital Budgeting)
ในกระบวนการเรื่องงบประมาณเงินลงทุนเกี่ยวข้องกับการประเมินความเป็นไปได้ในการทำผลกำไรและผลกระทบจากการจ่ายเงินทุนที่ได้วางแผนไว้ค่าใช้จ่ายระยะยาวสำหรับเครื่องจักรกลขนาดใหญ่และเครื่องมือต่างๆสามารถวิเคราะห์โดยการใช้เทคนิคมากมาย
การคาดการณ์และการวางแผนด้านการเงิน(Financial Forecasting and Planning)
การวิเคราะห์ด้านการเงินโดยปกติแล้วจะใช้ตารางทำการและซอฟต์แวร์การวางแผนด้านการเงินเพื่อประเมินสภาพปัจจุบันและผลการทำงานด้านการเงินของโครงการของธุรกิจช่วยในการหาข้อสรุปทางด้านความต้องการด้านการเงินของธุรกิจและวิเคราะห์วิธีการอื่นๆ
ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง(Transaction Processing System-TPS)
การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง(Transaction Processing)
ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบสารสนเทศซึ่งประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากการเกิดขึ้นของการทำรายการเปลี่ยนแปลง รายการเปลี่ยนแปลงเป็นเหตุการณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจเช่นการขาย การจัดซื้อ การฝากเงิน การถอนเงิน การคืนเงิน และการจ่ายเงิน ลองคิดตามตัวอย่างของการสร้างข้อมูลขึ้นมาเมื่อมีการขายสินค้าให้กับลูกค้าด้วยการใช้เครดิต ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า สินค้า พนักงานขาย ร้านค้า และอื่นๆ
วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing Cycle)
ระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงเก็บและประมวลผลข้อมูลตามที่ได้จากการทำรายการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจะทำการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันและจัดทำสารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อการใช้ภายในและภายนอกหน่วยงาน
กระบวนการนำเข้าข้อมูลเข้า
1. การนำเข้าข้อมูลแบบดั้งเดิม โดยปกติขึ้นอยู่กับระบบสารสนเทศผู้ใช้หาข้อมูลบนแหล่งที่เป็นเอกสาร มีค่าใช้จ่ายและข้อผิดพลาดสูง ดังนั้น จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอัตโนมัติ
2. การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอัตโนมัติ มีกระบวนการรับข้อมูลเข้าอัตโนมัติ เพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องปริมาณงาน บุคลากร และสื่อข้อมูลที่ต้องใช้ในการนำเข้าข้อมูลแบบเดิม
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ(Advantages and Disadvantages)
การประมวลผลแบบชุดนั้นเป็นวิธีที่ดีทางด้านเศรษฐศาสตร์ซึ่งทำการประมวลผลเมื่อมีจำนวนข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากๆจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมสำหรับหลายๆระบบงานที่ไม่จำเป็นจะต้องปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในทันทีหรือการออกเอกสารและรายงานจะกระทำเมื่อมีการขอตามตารางเวลาเท่านั้น
การประมวลผลตามเวลาจริง(Realtime Processing)
ในระบบการประมวลผลนั้นประสิทธิภาพของการประมวลผลตามเวลาจริงจะทำให้เกิดข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงทันทีและแสดงผลให้แก่ผู้ใช้ได้ทันทีระบบที่นิยมใช้ทั่วไปเรียกว่าการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบออนไลน์
กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ(Fault Tolerant Processing)
สายการบิน ธนาคาร บริษัท โทรศัพท์และหลายๆหน่วยงานต้องพึ่งพาระบบป้องกันการล่มของระบบ(Fault Tolerant Systems)เพื่อป้องกันความล้มเหลวในการใช้ระบบงานประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงแบบออนไลน์ เช่น ระบบการจองตั๋วของสายการบิน ระบบการอนเงินอัตโนมัติของธนาคารละระบบงานทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ
การบำรุงรักษาฐานข้อมูล(Database Maintenance)
การบำรุงรักษาฐานข้อมูลเป็นงานที่สำคัญของระบบการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง ฐานข้อมูลต้องมีการบำรุงรักษาเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงฐานข้อมูลขององค์กรให้เป็นปัจจุบันให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการทำรายการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
การจัดทำเอกสารและรายงานทั่วไป(Document and Report Generation)
ขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการประมวลผลคือการจัดทำสารสนเทศในรูปของเอกสารและรายงานเอกสารที่จัดทำโดยระบบการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลงเรียกว่าเอกสารรายการเปลี่ยนแปลง(Transaction Documents)เช่น
-เอกสารที่ทำให้การกระทำ(Action Document) หมายถึงเอกสารนี้หมายถึงการกระทำเริ่มแรก(Initiate Actions) หรือรายการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้รับ(Recipients)
-เอกสารสารสนเทศ(Information Document)เอกสารนี้ เกี่ยวข้องกับการยืนยัน(Confirm)หรือการับรอง(Prove)จากผู้รับว่ารายการเปลี่ยนแปลงนั้นได้เกิดขึ้น
-เอกสารหมุนกลับหรือเอกสารที่นำกลับมาใช้อีก(Turnaround Document)เอกสารทางรายการเปลี่ยนแปลงบางประเภท ได้ออกแบบให้อ่านได้ด้วยแถบแม่เหล็ก(Magnetic)หรือเครื่องตรวจกวาด(Optical Scanner)ที่มีการอกแบบให้กลับคือสู่ผู้ส่งได้
การประมวลผลตามที่ได้รับคำขอ(Inquiry Processing)
ระบบการประมวลผลทางรายการเปลี่ยนแปลงได้สนับสนุนการหาข้อมูลตามเวลาจริงของการใช้แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลออนไลน์ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของลูกข่ายและNCsสามารถใช้อินเทอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต เว็บบราวเซอร์
คำถามกรณีศึกษา🐝
1. ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักร สามารถช่วยให้เกิดผลกำไรสูงขึ้น และปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร
ตอบ ในโรงเลื่อยแถบตอนใต้ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องเลเซอร์ (Laser Vision Systems)จะวัดขนาดของไม้ซุงและคำนวณการเลื่อยไม้ซุงนั้นให้ได้ผลกำไรคุ้มค่าที่สุดภายใต้สภาพตลาดปัจจุบันเพื่อให้ได้มาตรฐานเครื่องเลเซอร์ที่โรงงานผลิตรถยนต์ Mercedes-Benz .oU.S.ได้กำหนดการวัดขนาดไว้หลายประการเพื่อใช้กับตัวถังรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่เครื่องส่องขยายกำลังสูง ใช้ตรวจสอบสิ่งที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่มนุษย์จะเห็นได้ อย่างเช่น การตรวจหาสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กจิ๋วในโรงงานผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ( Semiconductor)
2.ประโยชน์ทางธุรกิจที่ Gulf States Paper ได้รับจาก ระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรคืออะไร
ตอบ เทคโนโลยีซึ่งเชื่อมต่อดวงตาที่ไม่เคยกระพริบนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่จะแปลงภาพสิ่งที่เห็น ซึ่งไม่เพียงแต่จะคอยบังคับหุ่นยนต์ที่ประกอบประตูรถยนต์เข้ากับตัวถังรถยนต์เท่านั้น
3. ระบบสารสนเทศชนิดอื่นๆที่จำเป็นในการสนับสนุนการทำงานของระบบการมองเห็นด้วยเครื่องจักรที่ใช้ใน Gulf States Paper คืออะไร เช่น คุณคิดว่าข้อมูลเกี่ยวกับราคาในตลาดไม้แผ่นถูกนำมาป้อนให้แก่ระบบนี้ได้อย่างไร
ตอบ ระบบมองภาพจะคำนวณขนาดของแผ่นไม้ที่จะให้ผลกำไรสูงสุดโดยมีการสูญเสียไม้แต่ละท่อนให้น้อยที่สุดบนจอวิดีโอ จะเห็นแผนภาพขนาดของแผ่นไม้ที่คอมพิวเตอร์จะตัดไม้นั้น
คำถามกรณีศึกษา🐝
1.คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับBook -Of -The-Month Club
ตอบ การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตตาล็อกที่จะส่งให้ลูกค้า17 ครั้งต่อปี โดยจะมีรายชื่อหนังสือใหม่30 ชื่อเรื่องและลดราคาหนังสือเดิม 200ชื่อเรื่องต่อครั้ง ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า 3,200 รายการ ซึ่งให้รายละเอียดเป็นพิเศษในเรื่องของเนื้อหา ประวัติของผู้เขียน คำวิจารณ์ของบรรณาธิการ และอื่นๆ
2. คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-Of-The-Month Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้ชื่อสียงของร้านมีความทันสมัยมากขึ้น เป็นผลตอบแทนที่ดีแบบไม่ได้ตั้งใจ
3. มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-Of-The-Month Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บ
ตอบ 1. การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
2. การรวบรวมข้อมูล
3. การจัดการฐานข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การนำไปปฏิบัติและตอบสนองลูกค้า
6. การวะเคราะห์การตอบกลับของลูกค้า
แบบฝึกหัดท้ายบท🐝
1. ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศ จึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจและผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศ สามารถสนองความต้องการการใช้งานด้านธุรกิจได้
2. ทำไมระบบการตลาดปัจจุบัน จึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต จงอธิบาย
ตอบ การตลาดทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์ธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Gulf States Paper Corporation
4. ระบบการขายในสำนักงานอัตโนมัติ มีผลกระทบต่อพนักงานขาย พนักงานฝ่ายบริหารการตลาด และฝ่ายจัดทำเรื่องการแข่งขันอย่างไร
ตอบ การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆบริษัท ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ตของบริษัท
5. ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต สามารถนำมาช่วยในการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตได้อย่างไร
ตอบ กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตและเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อโยงกับสถานีงาน
6. ระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ช่วยสนับสนุนด้านการการจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
ตอบ อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ตและสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ - อินทราเน็ต เช่น การให้บริการตัวเองของลูกจ้างจะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน
7.เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบัญชี และการเงินอย่างไร อธิบาย
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ด้านการบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการด้านการเงิน ส่วนระบบสารสนเทศด้านการเงิน สนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท เป็นต้น
8.ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจเอง นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสาระสนเทศมาใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ตอบ ใช้ เพราะระบบสารสนเทศสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราไปอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกในการบริหารงานมากขึ้น ยิ่งในเรื่องของระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่ช่วยในเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้นข้อสอบ🐝
1. เป้าหมายทางการตลาดกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์ในการโฆษณาและส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท มีองค์ประกอบที่เป็นเป้าหมายกี่ประการ
ก. 1 ประการ
ข. 3 ประการ
ค. 5 ประการ
ง. 7 ประการ
2. Computer-integrated Manufacturing ตรงกับข้อใด
ก. คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตแบบบูรณาการ
ข. คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านการผลิต
ค. คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม
ง. คอมพิวเตอร์ช่วยงานออกแบบ
3. เป็นการเก็บรายการยอดขายสินค้าด้วยข้อมูลที่สร้างจากการสั่งซื้อและการจ่ายเงินของลูกค้า คือข้อใด
ก. บัญชีลูกหนี้กรือาายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
ข. บัญชีเจ้าหนี้หรือรายจ่ายที่ต้องชำระ
ค. บัญชีแยกประเภททั่วไป
ง. กระบวนการสั่งซื้อ
4. ทำให้ข้อมูลมีประสิทธิภาพจากระบบบัญชีอื่นๆ และผลิตรายการทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งรายการทางธุรกิจ คือข้อใด
ก. บัญชีลูกหนี้กรือาายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
ข. บัญชีเจ้าหนี้หรือรายจ่ายที่ต้องชำระ
ค. บัญชีแยกประเภททั่วไป
ง. กระบวนการสั่งซื้อ
5. วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง มีทั้งหมดกี่ขั้นตอน
ก. 1 ขั้นตอน
ข. 3 ขั้นตอน
ค. 5 ขั้นตอน
ง. 7 ขั้นตอน
6. ผู้ใช้หาข้อมูลบนแหล่งที่เป็นเอกสาร (Source Documents) เช่น ใบสั่งซื้อ ใบจ่ายเงินเดือน และแบบฟอร์มการขายสินค้า เอกสารเหล่านี้โดยปกติแล้วจะป้อนลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการใด
ก. การนำเข้าข้อมูลแบบดั้งเดิม
ข. การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอัตโนมัติ
ค. การประมวลผลแบบชุด
ง. การประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง
7. ข้อใดคือขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการประมวลผล
ก. การบำรุงรักษาฐานข้อมูล
ข. การจัดทำเอกสารและรายงานทั่วไป
ค. กระบวนการป้องกันการล่มของระบบ
ง. การประมวลผลแบบชุด
8. การกระทำเริ่มแรก หรือรายการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้รับ เช่น ใบสั่งซื้อที่มีอำนาจในการจัดซื้อไปยังบริษัทผู้จัดหาสินค้า คือข้อใด
ก. เอกสารที่ทำให้การกระทำ
ข. เอกสารสารสนเทศ
ค. เอกสารหมุนกลับหรือเอกสารที่นำกลับมาใช้อีก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
9. Turnaround Document ตรงกับข้อใด
ก. เอกสารที่ทำให้การกระทำ
ข. เอกสารสารสนเทศ
ค. เอกสารหมุนกลับหรือเอกสารที่นำกลับมาใช้อีก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
10. รายงานแสดงถึงความผิดพลาดที่จับได้ระหว่างการประมวลผล เช่น หมายเลขผิด ข้อมูลขาด และรายการควบคุมความผิดพลาด คือข้อใด
ก. รายงานสนับสนุน
ข. รายงายการยกเว้น
ค. รายการควบคุม
ง. รายงานแก้ไข
เฉลย 1) ค. 2) ก. 3) ก. 4) ค. 5) ค. 6) ก. 7) ข. 8) ก. 9) ค. 10) ง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น