สรุปบทเรียน
ขอบเขตของระบบสารสนเทศได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนเข้าไว้ด้วยกันจากแนวความคิด
เชิงพฤติกรรมและระบบงานสำหรับธุรกิจและไม่ใช่ธุรกิจที่นับไม่ถ้วนซึ่งผู้จัดการหรือผู้ใช้จำเป็นต้อง
รับรู้ในทุกเรื่องซึ่งจะมุ่งเน้นในส่วนของความรู้ทั้งหมด 5 ขอบเขตดังต่อไปนี้
เชิงพฤติกรรมและระบบงานสำหรับธุรกิจและไม่ใช่ธุรกิจที่นับไม่ถ้วนซึ่งผู้จัดการหรือผู้ใช้จำเป็นต้อง
รับรู้ในทุกเรื่องซึ่งจะมุ่งเน้นในส่วนของความรู้ทั้งหมด 5 ขอบเขตดังต่อไปนี้
- พื้นฐานแนวความคิด (Foundation Concepts)
- เทคโนโลยี (Technology)
- การประยุกต์ใช้ (Application)
- การพัฒนา (Development)
- การจัดการ (Management)
ระบบสารสนเทศ (Information Systems) เป็นการจัดการที่รวบรวมเอาบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายการสื่อสาร และทรัพยากรข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภายในองค์กร โดยใช้อุปกรณ์ทางด้านกายภาพ การดำเนินงานสารสนเทศที่เป็นการใช้ความรู้และขั้นตอนการทำงาน ช่องทางการสื่อสาร และการจัดเก็บข้อมูล ใครก็ตามที่ใช้ระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศในขั้นตอนการทำงาน จะเรียกว่า ผู้ใช้ (End User) ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้เกือบทุกคนภายในองค์กรแยกออกเป็นกลุ่มย่อยคือ
1) กลุ่มบุคคลที่มีความชำนาญในระบบสารสนเทศ (Information System Specialists) ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบหรือนักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ
2) กลุ่มผู้ใช้งานการจัดการ ได้แก่ ผู้จัดการ ผู้ประกอบอาหาร หรือผู้บริหารมืออาชีพที่ใช้ระบบสารสนเทศในการจัดการ
ดังนั้น การจัดการกับระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้จัดการ ซึ่งระบบสารสนเทศมีความสำคัญดังนี้
➤ ก่อให้เกิดความสำเร็จของธุรกิจ
➤ ก่อให้เกิดความสำเร็จของธุรกิจ
➤ ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
➤ ทรัพยากรสารสนเทศช่วยส่งเสริมการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
➤ ช่วยในการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีการแข่งขันทำให้องค์กรสามารถวางแผนเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในโลกของการแข่งขัน
➤ เป็นทรัพยากรหลักขององค์กรที่ช่วยในการจัดการทำงบประมาณในการดำเนินธุรกิจ
➤ มีความสำคัญและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาช่วยให้โอกาสในการประกอบอาชีพแก่คนจำนวนมาก
บทบาทเบื้องต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีการปรับปรุงรูปแบบไปตามมาตรฐานของธุรกิจ การบริการลูกค้า การปฏิบัติงาน สินค้า และกลยุทธ์ทางการตลาด จะเห็นได้ว่าปัจจุบันคอมพิวเตอร์นั้นสามารถสนับสนุนการใช้งานได้ทั้งที่โต๊ะทำงาน ห้างร้าน คลังสินค้า หรือแม้กระทั่งในกระเป๋าเอกสาร เทคโนโลยีสารสนเทศจึงกลายมาเป็นส่วน ประจำวันของชีวิตธุรกิจ สาเหตุเบื้องต้นสำหรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 บทบาทสำคัญ คือ
➤ สนับสนุนการปฏิบัติงานของธุรกิจ
➤ สนับสนุนการบริหารการตัดสินใจ
➤ สนับสนุนกลยุทธ์ที่ทำให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความได้เปรียบคู่แข่งขัน (Competitive Advantage with IT)
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์และการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจช่วยให้บริษัท
มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาด เป็นกลยุทธ์ระบบสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ ขั้นตอนการทำงาน และความสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจนั้นเหนือกว่าคู่แข่งขัน
ในการแข่งขันนั้นสิ่งที่ประเชิญไม่ใช่เพียงแค่ความแข็งแกร่งของผู้แข่งขันแต่ยังเป็นที่ตัวลูกค้าและผู้จัดหา
สินค้า ความสามารถในการเข้าถึงอุตสาหกรรม และบริษัทที่เสนอตัวแทนสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ
ซึ่งบทบาทหลักสำหรับการแข่งขันในแต่ละกลยุทธ์ อาจประกอบไปด้วย
➤ กลยุทธ์ด้านต้นทุน (Cost Strategies)
➤ กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง (Differentiation Strategies)
➤ กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (Innovation Strategies)
แบบฝึกหัดท้ายยท
1. จากรูปที่กำหนดให้จงอธิบายถึงระดับการจัดการ การตัดสินใจ และสารสนเทศว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ การจัดการเป็นศาสตร์และศิลปะซึ่งกระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน ,การจัดองค์การ , การสั่ง
การหรืออำนวยการ และการควบคุม โดยการจัดการที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจะต้องสามารถนำเอาความรู้
ความเข้าใจในศาสตร์ด้านการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหาะสมกับการทำงาน สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมโดย
เฉพาะในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ผู้บริหารจะต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้
สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ การจัดการภายใน
องค์การ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- การจัดการระดับสูง ( Upper lever management )
- การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)
- การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)
ซึ่งผู้บริหารแต่ละระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต่างกัน ส่วนการตัดสินใจสามารถถูกจำแนกให้สอดคล้องกับ
ระดับของการจัดการออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making)
- การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making)
- การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making)
2. จงบอกความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)
และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)เป็นระบบที่ช่วยในการเตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ใน
การควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง
ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS) เป็นระบบที่เป็นการทำงานแบบกึ่โครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูลการนำมาใช้และการรายงาน
ข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
3. จงบอกความหมายของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management : IRM) และ
ยกตัวอย่างการจัดการมา 1 ด้านพร้อมคำอธิบาย
ตอบ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง นโยบายการจัดการและการปฏิบัติงานในการจัดหาบำรุงรักษาใช้ประโยชน์ เผยแพร่สารสนเทศภายในองค์การ เน้นที การรวบรวม จัดเก็บให้บริการสารสนเทศ (ทีเกี่ยวข้อง) อย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง ทันตรงเวลา มีต้นทุนทีเหมาะสม พร้อมทังการเข้าถึงสารสนเทศทีเหมาะสมด้วย การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ครอบคลุมถึง
1) การจัดองค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นจัดหน้าทีการทำงานและหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการจำแนกบุคลากรประเภทต่าง ๆ และผู้บริหารงานสารสนเทศ
3) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึงจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียวและค่าใช้จ่ายประจำ
ตัวอย่างเช่น การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ข้อสอบ
1. ใครก็ตามที่ใช้ระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศในขั้นตอนการทำงาน เรียกว่าอะไร
ก. ผู้ใช้
ข. ผู้บริหารระดับสูง
ค. บุคลากร
ง. ผู้ประกอบการ
2. สาเหตุเบื้องต้นสำหรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจแบ่งออกเป็นกี่บทบาท
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5
3. ข้อใด ไม่ใช่ ทรัพยากรสารสนเทศ
ก. ข้อมูล
ข. บุคลากร
ค. ซอฟต์แวร์
ง. การจัดการ
4. ข้อใดคือเหตุผล 5 อันดับแรกของความล้มเหลว
ก. ผู้ใช่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ข. กำหนดความต้องการที่ชัดเจน
ค. มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการ
ง. การวางแผนอย่างเหมาะสม
5. Increasing Value of IT ตรงกับข้อใด
ก. มิติด้านจริยธรรมของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข. การเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค. ยุคโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง. ความสำเร็จและความล้มเหลวของเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. Success and Failure with IT ตรงกับข้อใด
ก. มิติด้านจริยธรรมของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข. การเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค. ยุคโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง. ความสำเร็จและความล้มเหลวของเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. เครือข่ายทำงานคล้ายกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตภายในบริษัท เรียกว่าอะไร
ก. อินทราเน็ต
ข. เอ็กซ์ทราเน็ต
ค. แอบเพลท
ง. ศูนย์กลางเครือข่าย
8. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างสินค้าหรือบริการพิเศษเฉพาะ คือกลยุทธ์ด้านใด
ก. กลยุทธ์ด้านต้นทุน
ข. กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง
ค. กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม
ง. ไม่มีข้อถูก
9. “คิดใหม่ ออกแบบใหม่อีกครั้งสำหรับขั้นตอนการทำงานของธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เช่น ต้นทุนคุณภาพการบริการและความรวดเร็ว” คือคำกล่าวของผู้ใด
ก. ไมเคิล แฮมเมอร์
ข. จอห์น สเคลลี่ร์
ค. โจนาทาน นิวคอมบ์
ง. แอนดรู เจเวล
10. เทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างองค์กรได้แก่ข้อใด
ก. อินเทอร์เน็ต
ข. อินทราเน็ต
ค. เอกซ์ทราเน็ต
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย
1) ก 2) ข 3) ง 4) ค 5) ข 6) ง 7) ก 8) ค 9) ก 10) ง
คำถามกรณีศึกษา
1. อะไรเป็นประโยชน์เเละขีดจำกัดของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนเเปลงระบบกลุ่มเป้าหมายเเบบเก่ามาเป็นระบบออนไลน์
ตอบ เวลา ซึ่งการเปลี่ยนมาเป็นระบบออนไลน์นั้นประหยัดทั้งเวลาเเละความสะดวกรวดเร็ว
2. คุณจะแนะนำให้บริษัทอื่นๆ ใช้การทำงานแบบกลุ่มเป้าหมายในเว็บไซต์ (Web- based Focus Groups)
หรือไม่และทำไม
ตอบ แนะนำ เพราะ การใช้งานในเว็บไซต์มีความสะดวก รวดเร็วกว่า ทำให้ได้รับข้อมูลที่หลากหลาย การติดต่อสื่อสารกันทำได้เร็ว
3. ธุรกิจหรือขั้นตอนการทำงานการตลาดใดบ้างที่สามารถปรับปรุงโดยการใช้การสื่อสารระหว่างกลุ่มเป้าหมายในเว็บไซต์ (Web- based Groups Interactive)
ตอบ ทุกธุรกิจที่เกิดขึ้น สามารถปรับปรุงโดยการใช้การสื่อสารระหว่างกลุ่มเป้าหมายในเว็บไซต์ได้ ไม่มีการจำจัดว่าจะต้องเป็นธุรกิจรูปแบบใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น