สรุปเนื้อหา
💛 แนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Information System Concept)
จากแนวคิดเรื่องระบบมาเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำระบบไปใช้ในองค์กร
ธุรกิจรวมทั้งส่วนประกอบและกิจกรรมของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดอื่นๆของเทคโนโลยี
โปรแกรมประยุกต์ การพัฒนา และการจัดการระบบสารสนเทศ
💛 แนวคิดเรื่องระบบ (System Concept)
ระบบเป็นข้อมูลส่วนย่อย ( Elements) ที่เกี่ยวพันกันหรือทำงานร่วมกันเพื่อประกอบให้เป็นหนึ่งเดียว บาง
ครั้งเรียกว่า ระบบพลวัต ประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 3 อย่าง คือ
• การนำเข้า/ข้อมูลนำเข้า (Input) เกี่ยวข้องกับการจัดและรวบรวมข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อใช้
ในการประมวลผล
• การประมวลผล (Process) เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลนำเข้าให้เป็นข้อมูลออก
• การส่งออก/ข้อมูลออก/การแสดงผล/ผลลัพธ์ (Output) เกี่ยวข้องกับการโอนข้อมูลส่วนย่อยที่ถูกผลิตโดย
การประมวลผลส่งไปยังปลายทาง
💛 ผลป้อนกลับและการควบคุม (Feedback and Control)
แนวคิดเรื่องระบบเกิดประโยชน์มากขึ้นเมื่อเพิ่มส่วนประกอบของผลป้อนกลับและการควบคุม ระบบที่มีทั้ง
ผลป้องกับและการควบคุมบางครั้งเรียกว่าระบบไซเบอร์เนติกส์ (Cybernetic System) ซึ่งเป็นทั้งระบบเฝ้าสังเกต
ด้วยตนเอง (Self- monotiring System) และระบบจัดระเบียบด้วยตนเอง (Self-regulating System)
• ผลป้อนกลับ/ผลสะท้อน/ผลส่งกลับ (Feedback)
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของระบบ
• การควบคุม (Control) เป็นการเฝ้าสังเกตและการประเมินผลป้องกับว่าระบบได้ดำเนินไปใกล้เป้าหมายหรือ
ไม่ หน้าที่การควบคุมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการปรับปรุงข้อมูลนำเข้าและกระบวนการประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลออก
ที่เหมาะสม
💛 ทรัพยากรระบบสารสนเทศ (Information System Resources)
👉 ทรัพยาการบุคคล (People Resources)
บุคคลที่จำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบสารสนเทศรวมถึงผู้ใช้งานและผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ
👉 ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware Resources)
ประกอบด้วยอุปกรณ์กายภาพและวัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศซึ่งนอกจากเครื่องจักร เช่น
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆแล้วยังรวมถึงสื่อข้อมูลซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถบันทึกข้อมูลจากกระดาษลงในจานแม่
เหล็กได้
👉 ทรัพยากรซอฟต์แวร์ (Software Resources)
เป็นชุดคำสั่งของการประมวลผลทั้งหมด ทั้งชุดคำสั่งของการปฏิบัติงานที่เรียกว่า โปรแกรม (Programs) ซึ่ง
ควบคุมการทำงานโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลสารสนเทศที่ผู้ใช้
ต้องการ ที่เรียกว่า กระบวนคำสั่ง (Procedures) ได้แก่
• ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
• ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
• กระบวนคำสั่ง (Procedure)
👉 ทรัพยากรข้อมูล (Data Resources)
ทรัพยากรข้อมูลของระบบสารสนเทศโดยปกติจะรวบรวมเป็น
• ฐานข้อมูล (Databases) ที่เก็บข้อมูลที่ประมวลผลและจัดระเบียบแล้ว
• ฐานข้อมูล (Knowledge Bases) ที่เก็บความรู้ในรูปแบบหลากหลาย เช่น ข้อเท็จจริง กฎระเบียบ และกรณี
ศึกษาตัวอย่างเกี่ยวกับความสำเร็จของธุรกิจ
👉 ทรัพยากรเครือข่าย (Network Resources)
ทรัพยากรเครือข่ายประกอบด้วย
• การติดต่อสื่อสาร (Communications Media) ตัวอย่างเช่น สายคู่บิดเกลียว/สายทวิชแพร สายโคแอคเซียล
สายใยแก้วนำแสง/สายไฟเบอร์ออฟติก ระบบไมโครเวฟ และระบบการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม
• การสนับสนุนเครือข่าย (Network Support) ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลที่
สนับสนุนการปฏิบัติงานและการใช้งานเครือข่ายสื่อสารโดยตรง ตัวอย่างของหน่วยประมวลผลสื่อสาร เช่น โมเด็ม
และหน่วยประมวลผลเชื่อมโยงเครือข่าย และซอฟต์แวร์ควบคุมการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายและ
โปรแกรมอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์
💛 กิจกรรมระบบสารสนเทศ (Information System Activities)
• การนำเข้า การอ่านข้อมูลด้วยแสงจากป้ายบาร์โค้ดที่ติดบนสินค้า
• การประมวลผล การคำนวณค่าจ้าง ภาษี และรายการลดหย่อนต่างๆของพนักงาน
• การส่งออก การผลิตรายงาน และแสดงผลการขาย
• การจัดเก็บ การบำรุงรักษาข้อมูลลูกค้า พนักงาน และสินค้า
• การควบคุม การทำให้เกิดสัญญาณตรวจสอบที่ชี้ให้เห็นว่าการป้อนข้อมูลขายที่เหมาะสม
💛 ประเภทของระบบสารสนเทศ (Type of Information Systems)
1. ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ (Operations Support Systems)
ระบบสารสนเทศ มีความต้องการการประมวลผลข้อมูลที่ผลิตและนำมาใช้ในการดำเนินการของธุรกิจ ระบบ
สนับสนุนการปฏิบัติการ จะผลิตผลิตภัณฑ์สารสนเทศที่หลากหลาย สำหรับการใช้งานทั้งภายในและภายนอก
องค์กร มักใช้ในการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ การควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรม การสนับสนุน
การติดต่อสื่อสารและความร่วมมือขององค์กร และการปรับปรุงฐานข้อมูลของธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ระบบสนันสนุนการจัดการ (Management Support Systems : MSS)
ระบบสารสนเทศ ที่เน้นการจัดเตรียมสารสนเทศและสนับสนุนการตัดสินใจที่เกิดประโยชน์แก่ผู้จัดการ เรียกว่า
ระบบสนับสนุนการจัดการ ที่เกิดจากแนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเมื่อปี 1960 ที่รวมเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์และทฤษฎีระบบของ การประมวลผลข้อมูลองค์กรเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ
• เน้นในเชิงการจัดการ (Management Orientation)
• เน้นกรอบของระบบ (Systems Framework)
3. การจำแนกระบบสารสนเทศอื่นๆ (Orther Classifications of Information Systems)
ยังมีระบบสารสนเทศอื่นที่สามารถสนับสนุนทั้งโปรแกรมประยุกต์เชิงปฏิบัติการและเชิงจัดการ เช่น ระบบผู้
เชี่ยวชาญ ระบบการจัดการองค์ความรู้ ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศธุรกิจ
กรณีศึกษา
1. อะไรคือส่วนประกอบของระบบการจัดการองค์ความรู้ที่ AMS
ตอบ - ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย
- สิ่งที่สนับสนุน ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลจากการจัดเก็บและกิจกรรมควบคุม
- ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้
2. ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ AMS ได้รับจากระบบการจัดการองค์ความรู้
ตอบ เพื่อช่วยให้พนักงานขององค์ที่มีความรู้ช่วยกันจัดโครงสร้างและแบ่งบันความรู้ทางธุรกิจในรูปของอินทราเน็ตเว็บไซท์ในหัวข้อ"การปฏิบัติงานที่ดี (Best practices)" ได้รับการพัฒนาขั้นจากประสบการณ์ทางธุรกิจของพนักงานและเก็บบันทึกไว้ในรูปแบบสือประสมเชื่อมโยยงหลายมิติ
3. ธุรกิจอื่นๆ ที่จะใช้อินทราเน็ตสำหรับการจัดการความรู้แบบเดียว AMS จะทำได้อย่างไร
ตอบ คือจะต้องมีทรัพยากรทั้ง 5 ประการ คือ
1) ทรัพยากรบุคคล (People Resources) บุคคลที่พัฒนาและควบคุมระบบสารสนเทศ
2) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware Resources) ประกอบด้วย อุปกรณ์กายภาพ (Physical Devices) และวัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ
3) ทรัพยากรซอฟต์แวร์ (Software Resources) เป็นชุดคำสั่งของการประมวลผลทั้งหมด ทั้งชุดคำสั่งของการปฏิบัติงานที่เรียกว่า โปรแกรม (Programs) ซึ่งควบคุมการทำงานโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลสารสนเทศที่ผู้ใช้
4) ทรัพยากรข้อมูล (Data Resources) ข้อมูลเป็นทรัพยากรที่ต้องมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ในองค์กร ข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบ ทั้งข้อมูลตัวอักขระที่ประกอบด้วยตัวเลขและตัวอักษร ทรัพยากรข้อมูลของระบบสารสนเทศโดยปกติจะรวบรวมเป็นฐานข้อมูล (Databases) ที่เก็บข้อมูลที่ประมวลผลและจัดระเบียบแล้ว ฐานความรู้ (Knowledge Bases) ที่เก็บความรู้ในรูปแบบหลากหลาย
5) ทรัพยากรเครือข่าย (Network Resources) เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ การประมวลผลสื่อสารและอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมโยงระหว่างกันด้วยสื่อการติดต่อสื่อสารและควบคุมด้วยซอฟต์แวร์สื่อสาร แนวความคิดเรื่องเครือข่ายที่เน้นเครือข่ายการติดต่อสื่อฐานเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของทรัพยากรของทุกระบบสารสนเทศ
กรณีศึกษา
1. ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล เครือข่าย และผลิตภัณฑ์สารสนเทศอะไรที่ท่านจดจำได้จาก American General Insurance
ตอบ - ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ผู้ใช้งานทั้งหมด เช่น พนักงานขายประกัน หรือผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ
- ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องจักรกลต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Tablet-size Computer) สำหรับตัวแทนขาย เครื่องแม่ข่ายอินทราเน็ต สื่อจานแม่เหล็ก
- ทรัพยากรซอฟต์แวร์ ได้แก่ โปรแกรมประยุกต์ที่ปรับปรุงให้เหมาะกับธุรกิจ ซอฟต์แวร์สำหรับตัวแทนขายในการออกกรมธรรม์ จัดทำป้ายการขายวิเคราะห์ความคุ้มครองของลูกค้า และการใช้ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ผู้จัดการทั่วไปสามารถบรหารตัวแทนขายได้อย่างมีผลิตผล
- ทรัพยากรเครือข่ายหลัก คือ อินทราเน็ตของบริษัท
- ทรัพยากรข้อมูลอันรวมถึงฐานข้อมูลลูกค้าและการขาย ซึ่งจัดเก็บอยู่บนเครื่องแม่ข่ายอินทราเน็ต ส่วนผลิตภัณฑ์สารสนเทศที่ได้มีทั้งแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์แสดงการให้บริการลูกค้าและแสดงสารสนเทศอื่นๆ เช่น การขาย ตัวแทนขาย กรมธรรม์ และลูกค้า
2. การนำเข้าข้อมูล การประมวลผล การส่งออกการจัดเก็บข้อมูล และกิจกรรมควบคุมใดที่ท่านจดจำได้จากระบบสารสนเทศของ American General Insurance
ตอบ - กรณีศึกษานี้จะมีทั้งการป้อนข้อมูลกรมธรรม์ การลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ และการตั้งคำถามจากตัวแทนขายและผู้จัดการ การประมวลผลจะถูกทำโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Tablet กับเครื่องแม่ข่าย
- กิจกรรมเก็บข้อมูลเกิดขึ้นเมื่อข้อมูลและภาพในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกบันทึกลงในหน่วยขับจานของคอมพิวเตอร์แบบ Tablet และเครื่องแม่ข่ายอินทราเน็ต
- กิจกรรมควบคุมความถูกต้องของข้อมูลกรมธรรม์เมื่อตัวแทนขายใช้แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ โดยลูกค้าสามารถรับรองกรมธรรม์ใหม่หรือที่แก้ไขได้ทันที
3. American General ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจใดจากระบบเร่งรัดการขายและระบบสารสนเทศการจัดการการตลาดและมีข้อจำกัดใด
ตอบ - บริษัทได้นำบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อให้ตัวแทนขายได้ส่งรายการการเปลี่ยนแปลงทางการเงินสำหรับเบี้ยประกันที่เก็บได้จากลูกค้ากลับมาที่สำนักงานกึ่งบ้านและนำฝากที่ธนาคารท้องถิ่น บริษัทได้ขยายอินทราเน็ตเพื่อเตรียมสารสนเทศการจัดการที่จำเป็นต่อการจัดการของสำนักงานท้องถิ่นและตัวแทนทั้งหลาย
- บริษัทล้ำหน้าในแผนกลยุทธ์ “มันช่วยลดการใช้กระดาษอย่างสมบูรณ์ทั้งจากตัวแทนและสำนักงานกึ่งบ้าน ช่วยประหยัดเวลาของลูกค้าและปรับการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด”
- บริษัทได้พัฒนาแบบฟอร์มการให้บริการลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Customer Forms) ที่ง่ายต่อการใช้งาน ที่สามารถเขียนกรมธรรม์ใหม่และลงลายมือชื่อและแก้ไขข้อมูลกรมธรรม์เก่าได้ที่จุดเดียว นั่นหมายถึงตัวแทนสามารถรับกรมธรรม์ที่มีลายมือชื่อทั้งตัวแทนและลูกค้า และส่งสำเนาเอกสารกลับไปยังสำนักงานทันทีตามกฎระเบียบที่มีอยู่
- ซึ่งมีผลอย่างมากจากการที่ไม่ต้องรอกรมธรรม์ส่งกลับไปยังสำนักงานท้องถิ่นเพื่อดำเนินการต่อ โดยเฉพาะการเร่งรัดการเก็บเงินประมาณ 5,000 กรมธรรม์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ เบ็ทส์คาดการณ์ว่า “มันจะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นถึง 10 วันสำหรับกรมธรรม์ใหม่และเก่า” โดยมีโปรแกรมประยุกต์ที่อนุญาตให้พนักงานขายคาดการณ์ล่วงหน้าจากฐานข้อมูลลูกค้าในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยสร้างการขายใหม่จากฐานลูกค้าเดิมและอีกโปรแกรมที่ช่วยวิเคราะห์คำชมเชยให้ลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ
- ต้องกระจายระบบสารสนเทศการตลาดและการจัดการ ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกๆสำนักงานท้องถิ่น นี่คือเครื่องมือจัดการงานเร่งรัดการขาย การเก็บสารสนเทศการขายทั้งหมดลงในฐานข้อมูลที่เครื่องแม่ข่าย อันทำให้ผู้จัดการสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ทันสมัยได้มากกว่ารายงานรายสัปดาห์ที่ได้รับอยู่ ซึ่งไม่ได้สารสนเทศที่จำเป็นต่อการเร่งรัดการขายและลงลึกถึงผลงานของพนักงานขายเป็นรายบุคคล
แบบฝึกหัดท้ายบท
1. จงอธิบายแนวพื้นฐานของระบบสารสนเทศที่สำคัญมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ทรัพยากรมนุษย์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย
2. สิ่งที่สนับสนุน ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม
3. ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้
2. AMS คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ AMS คือ ตัวอย่างของระบบสารสนเทศแบบใหม่ เป็นระบบการจัดการองค์ความรู้ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลากหลาย เพื่อช่วยให้พนักงานขององค์กรที่มีความรู้ช่วยกันจัดโครงสร้างและแบ่งปันความรู้ทางธุรกิจ ในรูปแบบของอินทราเน็ตเว็บไซต์
ความสำคัญของ AMS คือ จะช่วยให้ในการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
3. System Concept หมายถึงอะไรและมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ ระบบ (System) คือ กลุ่มของส่วนประกอบที่มีความเกี่ยวพันระหว่างกัน มีการทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ความสำคัญของการนำแนวคิดเชิงระบบไปใช้ในการปฏิบัติงาน
1. แนวคิดเชิงระบบเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถกำหนดกรอบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองเห็น กระบวนการทำงานทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ
2. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เนื่องจากสามารถสื่อสารกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนกับทีมงาน ได้กระจ่างชัด ซึ่งทำให้สามารถอธิบาย หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆในมุมมองที่กว้าง
3. ทำให้มองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่ ความผิดพลาดต่างๆที่เกิดจากระบบ จะทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและหาวิธีแก้ไขได้ถูกต้องทันท่วงที ซึ่งเป็นผลดีทั้งในระยะสั้นและระยาว
4. ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ มีความถูกต้อง ประหยัดค่าใช้จ่าย ทันตามเวลาที่กำหนดและสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. ส่วนประกอบของสารสนเทศมีอะไรบ้างจงอธิบายแต่ละส่วนประกอบ
ตอบ ส่วนประกอบของสารสนเทศ ได้แก่
1. ทรัพยากรบุคคล (People Resources) คือ บุคคลที่จำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบสารสนเทศ รวมถึงผู้ใช้งานและผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะต้องได้ เช่น จอภาพ ฮาร์ดดิส แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องพิมพ์
3. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมทุกชนิดที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
4. ข้อมูล (Data) คือ ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เครือข่าย (Network Resources) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันในเครือข่ายได้
5. ให้อธิบายประเภทของระบบสารสนเทศแต่ละประเภทว่ามีอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ
ตอบ ประเภทของระบบสารสนเทศ ได้แก่
1. ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ
ระบบสารสนเทศ มีความต้องการการประมวลผลข้อมูลที่ผลิตและนำมาใช้ในการดำเนินการของธุรกิจ ระบบสนับสนุนการปฏิบัติการ จะผลิตผลิตภัณฑ์สารสนเทศที่หลากหลาย สำหรับการใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กร มักใช้ในการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ การควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรม การสนับสนุนการติดต่อสื่อสารและความร่วมมือขององค์กร และการปรับปรุงฐานข้อมูลของธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ระบบสนับสนุนการจัดการ
ระบบสารสนเทศ ที่เน้นการจัดเตรียมสารสนเทศและสนับสนุนการตัดสินใจที่เกิดประโยชน์แก่ผู้จัดการ เรียกว่าระบบสนับสนุนการจัดการ ที่เกิดจากแนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เมื่อปี 1960 ที่รวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และทฤษฏีระบบของการประมวลผลข้อมูลองค์กรเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ประการคือ
เน้นในเชิงการจัดการ และเน้นกรอบของระบบ
3. การจำแนกระบบสารสนเทศอื่นๆ
ยังมีระบบสารสนเทศอื่นที่สามารถสนับสนุนทั้งโปรแกรมประยุกต์เชิงปฏิบัติการและเชิงจัดการ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบการจัดการองค์ความรู้ ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศธุรกิจ